สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • Log in
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Close
Menu
Personal menu
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Search
  • Home /
  • ครูบาอาจารย์ /
  • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

Picture of พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

เมื่อจิตได้พิจารณาอสุภะอสุภังหลายครั้งหลายหน จนเกิดความชำนิชำนาญ พิจารณาคล่องแคล่วว่องไวทั้งรูปภายนอกทั้งรูปภายใน จะพิจารณาให้เป็นอย่างไรก็เป็นได้อย่างรวดเร็ว แล้วจิตก็จะรวมตัวเข้ามาสู่อสุภะภายใน และจะเห็นโทษแห่งอสุภะที่ตนวาดภาพไว้นั้นว่าเป็นเรื่องมายาประเภทหนึ่ง แล้วปล่อยวางทั้งสองเงื่อน คือเงื่อนอสุภะและเงื่อนสุภะ

ทั้งสุภะทั้งอสุภะสองประเภทนี้ เป็นสัญญาคู่เคียงกันกับเรื่องของราคะ เมื่อพิจารณาเข้าใจทั้งสองเงื่อนนี้เต็มที่แล้ว คำว่าสุภะก็สลายตัวลงไปหาความหมายไม่ได้ คำว่าอสุภะก็สลายตัวลงไปหาความหมายไม่ได้ ผู้ที่ให้ความหมายว่าเป็นสุภะก็ดี อสุกะก็ดี ก็คือใจ ก็คือสัญญา สัญญาก็รู้เท่าแล้วว่าเป็นตัวหมาย เห็นโทษแห่งตัวหมายนี้แล้ว ตัวหมายนี้ก็ไม่สามารถที่จะหมายออกไปให้ใจติดและยึดถือได้อีก

ประวัติและปฏิปทา

พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (๑๒ สิงหาคม ๒๔๕๖ - ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔) วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นามเดิม บัว โลหิตดี เป็นพระมหาเถระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีปฏิปทาที่เด็ดเดี่ยวจริงจัง ตรงไปตรงมา มีความเพียรเป็นเลิศ ยอมสละชีวิตเพื่อธรรม ยอดกตัญญู และสร้างสร้างคุณูประโยชน์ให้แก่หมู่คณะ พระพุทธศาสนา และประเทศชาติ อันหาที่เปรียบไม่ได้ ตัวท่านเองได้รับการอบรมธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต โดยตรง และเป็นที่ยอมรับกันในสายพระธุดงคกรรมฐานว่า เป็นผู้ที่มีปฏิปทาและข้อวัตรที่ใกล้เคียง และเป็นหนึ่งในธรรมทายาทสำคัญของหลวงปู่มั่น

เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี พระอาจารย์มหาบัวได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุติ ตามคำขอร้องของโยมบิดามารดา ณ วัดโยธานิมิตร จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ญาณสมฺปนฺโน” แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยญาณหยั่งรู้

พระอาจารย์มหาบัวเป็นผู้มีอุปนิสัยเด็ดเดี่ยวมาตั้งแต่สมัยฆราวาส ดังนั้นเมื่อมาบวชก็ตั้งใจบวชเพื่อบุญกุศล เพื่อคุณงามความดีอย่างแท้จริง และได้พยายามรักษาข้อวัตรและศีลของสมณะอย่างเคร่งครัด เมื่อได้ตั้งใจว่าจะเรียนพระปริยัติจนจบเปรียญธรรม ๓ ประโยค ท่านก็ทำได้ตามสัจจะที่ได้ตั้งไว้นั้น แต่ช่วงที่ศึกษาปริยัติอยู่นี้เอง ท่านได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติพระอริยเจ้าต่างๆ ซึ่งออกบวชแล้วพากันบำเพ็ญสมณธรรมในป่าจนได้เป็นพระอรหันต์ ท่านเองก็อยากที่พ้นจากทุกข์ให้ได้ในชาตินี้เช่นกัน จึงมีใจเปลี่ยนมาฝึกปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง  

ในภาคปฏิบัติ ท่านเริ่มต้นด้วยการฝึกนั่งสมาธิภาวนาและเดินจงกรม โดยเร่งทำความเพียรทั้งกลางวันกลางคืนตลอดจนจิตได้รับความสงบในฌาน แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านมีกิจอื่นต้องทำ ผลความสงบจากสมาธิก็เสื่อมลง ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ โดยเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์และจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่จังหวัดสกลนคร

ในช่วงที่พระอาจารย์มหาบัวติดตามหลวงปู่มั่นเป็นระยะเวลาตลอด ๘ ปีนี้ ท่านได้น้อมรับอุบายการปฏิบัติต่างๆ ด้วยความเคารพยิ่งในองค์หลวงปู่ และได้หักโหมเร่งทำความเพียรแบบไม่คิดชีวิต โดยมีช่วงงดอาหารและนั่งสมาธิภาวนาเนสัชชิกตลอดคืนเป็นเวลาหลายๆ วันติดกัน ซึ่งเมื่อได้รับอุบายการภาวนาที่ถูกต้องและมีหลวงปู่มั่นแนะนำแก้ไขให้โดยตลอด จิตใจท่านก็ค่อยๆ เจริญขึ้นตามลำดับ แม้จะมีช่วงที่ท่านติดในสมาธิความสงบอยู่ ๕ ปี หลวงปู่มั่นก็ให้อุบายตักเตือนจนท่านสามารถออกมาพิจารณาทางปัญญาได้ จากนั้นจิตใจของท่านบริสุทธิ์ขึ้นตามวาระ จากการพิจารณาวางกาย เวทนา และอุปาทานความยึดมั่นเรื่องสัญญาในสุภะและอสุภะ

แม้ว่าหลวงปู่มั่นได้ละสังขารไป พระอาจารย์มหาบัวก็ไม่ได้ย่อหย่อนความเพียรลง กลับแสวงหาที่วิเวกสันโดษและเร่งปฏิบัติมากยิ่งขึ้น จนท้ายที่สุดสามารถเข้าถึงมหาสติ มหาปัญญา ที่ละความหลงของใจ คือ “อวิชชา” ตัวสุดท้ายที่เป็นเหตุให้เกิดวัฏจักรของจิตลงได้สิ้นเชิง ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓

เมื่อพระอาจารย์มหาบัวได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนตนบริบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านก็อยู่ด้วยวิหารธรรมตามอริยประเพณี และมุ่งมั่นทำประโยชน์แก่โลกต่อไป พระอาจารย์มหาบัวเป็นพระผู้ทรงปฏิสัมภิทาญาณ มีไหวพริบฉลาดในการแสดงธรรมและแก้ไขปัญหาที่ติดขัดในการภาวนาขั้นสูงได้อย่างหาผู้ใดเปรียบได้ยาก ได้อบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร และฆราวาสมากมาย ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนได้ถึงคุณธรรมอันควรตามบารมีของแต่ละท่าน ลูกศิษย์หลายองค์ก็ได้ออกไปตั้งวัดกรรมฐานในทั่วประเทศไทย และในหลายประเทศทั่วโลกด้วย นับเป็นยุคที่ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก

ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ท่านได้สงเคราะห์โรงพยาบาล สถานศึกษา ส่วนราชการ ผู้ด้อยโอกาส บุคคลผู้ประสบทุกข์ภัยต่างๆ และด้านอื่นๆ อีกมากมายนับรวมเป็นมูลค่าไม่ได้สูงสุดในยุคนี้ ด้านการเผยแผ่ธรรม ท่านมีผลงานการก่อตั้งมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ  การแสดงพระธรรมเทศนา และเขียนหนังสือธรรมะมากมาย ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา จึงนับว่าพระอาจารย์มหาบัว เป็นยอดพระ “ผู้ปฏิบัติตน” และ “ผู้ให้” คู่ควรแก่การเคารพกราบไหว้อย่างแท้จริง

Product tags
  • นักรบธรรมเดนตาย (1)
  • ,
  • เสาหลักของประเทศ (1)
  • ,
  • พระอรหันต์แห่งประวัติศาสตร์ (1)
Information
  • สวนพุทธธรรม
  • ติดต่อเรา
Customer service
    Selected offers
      My account
          Copyright © 2023 สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม. All rights reserved.