สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • Log in
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Close
Menu
Personal menu
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Search
  • Home /
  • ครูบาอาจารย์ /
  • หลวงปู่จันทา ถาวโร

หลวงปู่จันทา ถาวโร

Picture of หลวงปู่จันทา ถาวโร

หลวงปู่จันทา ถาวโร

อนิจจัง ไม่เที่ยง เมืองกายนครนี้นั้น  ทุกขัง ก็เป็นทุกข์ลำบากกายใจ  อนัตตา ก็ไม่ใช่เขาไม่ใช่เราแน่นอน นั่นแหละพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายท่านมาเห็นโลกภายนอกภายในอย่างนี้

อันนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาขั้นเหตุ ค้นคว้าในขันธ์ ๕ ในโลกทั้งสามให้มันแจ้งขัดอย่างนี้ น้อมลงสู่ไตรลักษณ์เสมอ มันจึงจะเบื่อหน่ายคลายความยึดว่า “ธาตุขันธ์เป็นเรา” “เราเป็นธาตุขันธ์” “ธาตุขันธ์มีเรา” “เรามีธาตุขันธ์” ไม่ใช่หรอก ให้เห็นเพียงแต่ว่าเป็นสัมภาระปัจจัยเครื่องอาศัยชั่วคราว และเป็นสมบัติมาหาได้ใหม่

นั่นแหละธาตุ ๕ ดินน้ำลมไฟนี้มาหาได้ใหม่ทั้งนั้น และเป็นสมบัติของโลกยืมโลกมาใช้สอยชั่วคราว ไม่นานหนอก็ส่งคืนให้แก่โลกเท่านั้น เพราะมันแก่เจ็บตาย

หลวงปู่จันทา ถาวโร

หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2465 บวช‌เมื่อปี พ.ศ. 2490 หรือบวชเมื่ออายุ 25 ปี

หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ บวช‌เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หรือบวชเมื่ออายุ ๒๕ ปี

ปฐมบทของท่านในผ้ากาสาวพัสตร์นั้น เป็น‌การตั้งใจบวชให้แม่“นางเลี่ยม ชมพูวิเศษ” แม่ผู้สิ้นชีพไปขณะท่านอายุเพียง ๗ ขวบ ‌แต่แค่ ๗ ขวบ พระคุณแม่ก็แผ่ปกจนลูกคนนี้มิเคยลืมเลือน นั่นอาจเพราะรักของแม่เป็นเสาค้ำยันที่‌สำคัญที่สุดในชีวิตที่ท่านสรุปไว้เองว่า แสนทุกข์‌ยาก แสนลำบาก คิดถึงแล้วน้ำตาไหล ไม่ว่าจะกล่าวถึงประวัติของท่านแบบรวบ‌รัดอย่างไร ร่องรอยดังกล่าวก็ปรากฏอย่างชัด‌แจ้ง ลองพิจารณาดูเถิดว่า หากเรื่องราว ๒๕ ปี ‌ของคนหนุ่มคนหนึ่งเป็นเช่นต่อไปนี้ ริ้วรอยใน‌จิตใจของเขาจะเป็นอย่างไร?

มีพี่น้อง ๖ คน แม่ตายอายุ ๗ ขวบ พ่อ‌แต่งงานใหม่ แม่เลี้ยงเลี้ยงลูกแบบหมากับแมว ‌สุดท้ายพ่อก็ไปอยู่กับแม่ใหม่ ทิ้งให้เป็นลูกกำพร้าให้อยู่กับญาติๆ ไม่ได้รับการศึกษา ได้แต่‌เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย อายุ ๒๓ ปี แต่งงานกับแม่ม่ายลูกติด ๓ คน ชีวิตครอบครัวล่มสลาย ‌เพราะวันหนึ่งไปหาปลาจนเหน็ดเหนื่อยกลับมา‌ถึงบ้านแทนที่ภรรยาจะเห็นใจ กลับด่าขู่ตะคอก‌ว่า มันมัวแต่ไปเที่ยวเถลไถลจนมืดค่ำ ต่อว่าไม่‌พอ ยังถลกผ้าถุงปัสสาวะใส่เครื่องมือหาอยู่หา‌กินอย่าง ข้อง แห ฯลฯ สุดท้ายเลยได้หย่าขาด‌จากกัน

หลวงปู่จันทา ถาวโร ละขันธ์ หยุดวัฏฏะ ใครผ่านชีวิตเยี่ยงนี้ คงมีทางแยกให้เลือก‌เพียงสองทาง หนึ่ง คือ ทุ่มชีวิตใส่โลกนี้อย่างเกรี้ยวกราด สอง ใช้ความโศกสลดเก็บเกี่ยวความทุกข์‌มาเป็นปัญญา หนุ่มจันทาเลือกประการหลัง ถึงเช่นนั้นก็ใช่ว่ามันจะดำเนินต่อไปอย่าง‌เรียบง่าย เพราะความที่ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก ‌เขียนไม่ได้ แค่ขานนาคขอบวชก็ต้องท่องแล้ว‌ท่องอีก คนอื่นท่องได้เป็นประโยค เป็นท่อน ‌ของท่านได้วันละคำ แต่ก็เพียรเอาจนได้ บวชได้แล้ว ผู้รู้หรือครูบาอาจารย์บางรูปก็‌ใช่ว่าจะอดทนต่อความไม่รู้หนังสือของท่าน แต่‌บางรูปก็เมตตาอดทนสอนให้ แต่หลวงปู่หนู วัด‌บ้านปลาผ่า พระอุปัชฌาย์นั้นไม่เพียงเมตตา‌อบรมสั่งสอนโดยไม่ระย่อ หากแต่ยังสั่งไว้ด้วย‌ว่า เธอเป็นคนทุกข์คนยาก ไม่มีความรู้ วาสนา‌น้อย บุญน้อย เป็นคนกำพร้า อนาถา ฉะนั้น‌บวชแล้วอย่าสึก ชีวิตนี้ได้พบธรรมะแล้วให้‌เจริญในธรรม พระหนุ่มจันทาก็รับปาก และตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญเพียร เพราะเกรงว่า“จะได้บุญน้อย ไม่‌ได้ไปช่วยแม่” หลังบำเพ็ญเพียรทุกครั้ง ท่านอุทิศส่วน‌กุศลไปให้แม่ทุกคน ทำเช่นนั้นมาเรื่อย จน ๒๕ ปีให้หลัง จึงเห็น‌ผลจากเรื่องแปลกประหลาดประการหนึ่ง

หลานสาววัย ๒ ขวบของท่านเอ่ยปากออก‌มาในวันหนึ่งว่า เธอคือแม่ท่าน พอซักถามเรื่อง‌ในอดีตก็ตอบได้หมด พอถามว่าตอนตายไป‌แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ได้รับไหม เธอว่าได้รับ‌ทุกคืนตอน ๕ ทุ่ม ซึ่งเป็นเวลาที่ท่านไหว้พระ‌สวดมนต์และอุทิศส่วนกุศลให้แม่หลังเดินจงกรม นั่งสมาธิ และด้วยอำนาจบุญนั้นเองทำให้ได้หลุดพ้นจากนรกมาเกิดอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่จันทาญัตติจากมหานิกายเป็นธรรม‌ยุตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นการนับพรรษาหนึ่ง เริ่ม‌ฝึกจิตกับหลวงปู่ทับ เขมโกในพรรษาแรกนั่น‌เอง จิตท่านก็พอสงบ หรือที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ

พอพรรษาที่สอง ติดตามหลวงปู่จันทร์ไป‌วิเวก จิตรวมลงฐานใหญ่กว่าขณิกสมาธิ ส่อง‌สว่างกระจ่างแจ้ง กลางคืนราวกับกลางวัน ผู้รู้‌เอ่ยขึ้นว่า นัตถิ สันติปะรัง สุขัง ความสุขอื่นยิ่ง‌กว่าความสงบไม่มี เป็นความสงบในระดับ อุปจารสมาธิ

ในพรรษาที่สาม ขณะภาวนาที่วัดป่าวิเวก‌การาม บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จิตรวม‌ลงละเอียดกว่าเดิมอีก แต่ไม่รู้วิธีถอน พอออก‌มาแล้วถามว่า ไม่ได้เอากายมาด้วยหรือ จึงเอา‌มือคลำดูกายก็ยังอยู่ พอคลำดูอีกทีกายหายไป

ต่อมาเมื่อพบหลวงปู่บัว สิริปุณโณพระ‌อรหันต์แห่งวัดป่าหนองแซง เล่าความนี้ให้ท่าน‌ฟัง ท่านจึงวินิจฉัยว่า จิตลงถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ‌แต่เป็นอารมณ์เดียว พิจารณาอะไรไม่ได้ ‌เพราะขาดปัญญา เมื่อจิตถอนขึ้นมาอยู่ระหว่าง ‌อุปจารสมาธิ แล้วจะรวมลงอีก ก็กำหนดไว้อย่า‌ให้รวม ให้เดินวิปัสสนา ค้นคว้าในภพชาติ‌สงสาร น้อมลงสู่สภาพความแก่ ความเจ็บ ‌ความตาย พอตายแล้วก็เพ่งขึ้นอืด ขึ้นพอง เน่า‌เปื่อย ถึงสภาพเน่าเปื่อยแล้วให้ยึดดาบเพชร ‌คือ สติ ปัญญา ถอนสังโยชน์ ๕ คือ สักกาย‌ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ‌พยาบาท ขาดจากใจ

ถ้าจิตรวมได้ฐานนี้ เป็นมูลฐานอันใหญ่ ‌สำหรับที่จะถอนสังโยชน์ ๕ ออกจากใจได้บรรลุ ‌อนาคามีผล หลวงปู่จันทาตั้งมั่นได้แล้ว จากนั้นก็เจริญ‌ในธรรมตามลำดับ

ท่านได้ฝากตัวเข้ารับการฝึกอบรมจากพ่อแม่‌ครูอาจารย์หลายรูป อาทิหลวงปู่บัว หลวงปู่ฝั้น ‌อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุยจันทาสาโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รูปที่ท่านอยู่อุปฐากนานที่สุดคือ หลวงปู่‌ขาว

เมื่อมาสู่สำนักถ้ำกลองเพลนั้น หลวงปู่ขาว‌ให้อดนอน ผ่อนอาหาร เร่งความเพียร เดือนแรกให้เดิน ๑ ชั่วโมง ยืน ๑๐ นาที ‌นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง เมื่อเข้าสู่ทางจงกรมให้ยกมือไหว้ครู พุทโธ ‌ธัมโม สังโฆ สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าจะฝึกจิต ‌บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทางกาย ‌วาจา ใจ ขอจงให้เป็นไป ให้รู้ธรรมเห็นธรรม‌เกิดขึ้น แล้ววางมือซ้ายใต้พกผ้า เอามือขวาทับ ‌ก้าวขวาว่า พุทโธ ก้าวซ้าย ธัมโม ก้าวขวาว่า ‌สังโฆ เดินไม่ช้า ไม่เร็ว สุดท้างจงกรมเลี้ยวขวา ‌ทำอย่างนั้น ๓ รอบ รอบที่ ๔ ให้หยุดเอาอารมณ์‌เดียวคือ ขวาว่า พุธ ซ้ายว่า โธ ยืนภาวนา ๑๐ นาทีนั้นให้ผินหน้าไปทิศ‌ตะวันออก หายใจเข้าว่า พุทธ ออกว่า โธ ผ่อน‌ลมให้เป็นที่สบาย

ส่วนนั่งสมาธิอีก ๑ ชั่วโมงนั้น ให้ไหว้พระ‌ย่อๆ ก่อน แล้วปล่อยวางความยากก่อนภาวนา ‌เพราะถ้าอยากให้สงบมันไม่สงบ ฉะนั้นให้‌ปล่อยวางความอยาก ปล่อยวางความอาลัยใน‌สังขาร ท่านว่า การทำความเพียรทุกประโยคต้อง‌ปล่อยวางความอยากเสมอ เมื่อประกอบเหตุ‌พร้อม ผลจะสนองเอง ไม่ต้องสงสัย การนั่งสมาธิก็ให้ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าไม่ให้ก้ม ไม่ให้เงย ไม่เอียงซ้าย ขวา วางกาย ‌วางใจ ให้อ่อน หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ ถ้า‌เข้ายาวก็ออกยาว ให้มีสติรู้ ผ่อนลมจนเป็นที่‌สบาย ถ้าเกิดเวทนาคันยุบยิบก็อย่าลูบคลำ อย่า‌เกา อย่าพลิก ให้นั่งทับทุกข์ เผากาย เผาจิต จะเดิน ยืน นั่ง ให้เจริญวิปัสสนา

ระหว่างทำความเพียรนั้น ห้ามเอาหนังสือ‌มาอ่าน การงานแม้แต่น้อยนิดก็อย่าให้มี เพราะ‌การอ่านหนังสือคือส่งจิตออกนอก เดิน ยืน นั่ง ‌ให้เอาอารมณ์เดียวคือ พุธโธ ธัมโม สังโฆ

ปฏิบัติมาเดือนที่สอง หลวงปู่ขาวให้เร่งขึ้น‌เป็นเดิน ๒ ชั่วโมง ยืน ๑๕ นาที นั่ง ๒ ชั่วโมง

เดือนที่สาม เร่งเป็นเดิน ๓ ชั่วโมง ยืน ๒๐ ‌นาที นั่ง ๓ ชั่วโมง

สุดท้ายฝึกอย่างอุกฤษฏ์คือ นั่งคืนยันรุ่ง ‌โดยไม่กระดุกกระดิก ไม่พลิกไหว

ด้วยวิถีเช่นนั้น จิตท่านสงบจากขั้นขณิก‌สมาธิ ลงถึงอุปจารสมาธิ เกิดสุขจากสมาธิ ‌หลวงปู่ขาวก็กำกับว่า อย่าติดสุข ให้พิจารณา ‌ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ

เมื่อจิตยึดสติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง เห็น‌อนัตตา จิตก็ตั้งมั่น ในพระพุทธ พระธรรม พระ‌สงฆ์ โดยไม่หวั่นไหว ท่านว่า ออกพรรษาปีนั้นใจมันเปลี่ยน‌สภาพ จากเดิมมามั่นคงอยู่กับการเจริญสมถ‌วิปัสสนาธรรม เลยยืน เดิน นั่งแบบนั้นตลอด‌ไตรมาส เป็นเวลาถึง ๕ ปี ปีที่ ๕ นั้นทำต่อ‌เนื่องอยู่ถึง ๗ เดือน ระหว่างภาวนากับหลวงปู่ขาวนั้น เช้าหนึ่ง‌หลวงปู่ขาวได้ถามท่านว่า“ทา...พ้นทุกข์หรือยัง ผมเข้าใจว่า ท่านพ้นทุกข์แล้วนะ ‌เพราะเห็นท่านนั่งภาวนาแล้วมีรัศมีรุ่งโรจน์‌คืนยันรุ่ง”

หลวงปู่จันทากราบเรียนท่านว่า ยังหรอก‌ครับหลวงปู่ เพียงแต่เมื่อคืนสำคัญที่สุดกว่าทุก‌คืน และคืนที่ว่านั้นคือ คืนที่จิตรวมพรึ่บเหลือ‌แต่ผู้รู้กับสติ และจิตตั้งมั่นในพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ ถวายชีวิตเป็นพรหมจรรย์ ไม่‌กลับคืนโลกอีกแล้วนั่นเอง

หลวงปู่จันทา เล่าไว้ถึงการสิ้นความลังเล‌สงสัยในมรรคผลนิพพานว่า เมื่อก่อนก็สงสัยว่า ‌มรรคผลธรรมวิเศษนั้นหมดสมัยไปแล้ว ไม่มีอีก‌แล้ว แต่ก็เชื่ออยู่ว่า ถ้าปฏิบัติจริงต้องได้รู้ได้เห็น ‌จึงตั้งใจอธิษฐานที่วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่าง‌แดนดิน จ.สกลนคร ว่า ถ้าบุญพาวาสนาส่งที่‌ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่ภพก่อนและชาตินี้‌ประกอบกันเข้า ก็ขอจงเห็นเป็นไป จะได้สิ้น‌สงสัย จะทำความเพียรบูชาพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ เพื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนเอาซึ่ง‌บุญกุศลมรรคผลเท่าที่ควรนั้นขอจงเป็นไป จากนั้นตั้งสัตย์ว่า ๖ วัน ๖ คืน จะไม่นอน ‌แต่ละวันจะฉันเพียง ๕ คำ ท่านว่า พอดำเนินไปตามนั้นครบ ๖ วัน ‌นอนลงพักผ่อน โดยวางความอยาก วางหมด‌ความอยากรู้ อยากเห็น อะไรทั้งหลายวางหมด ‌จิตก็รวมพั่บลงถึงขณิกสมาธิ หนังแขนขวาแตก‌ออกตั้งแต่สุดปลายมือจนถึงแขนศอก กระดูก‌แทงทะลุหนังขึ้นมา เป็นอสุภกรรมฐาน มรณ‌กรรมฐาน เกิดนิมิตหนนี้ต่างจากคราวก่อน เพราะ‌ตอนนี้ได้ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนมาแล้ว ‌ท่านว่าได้มีดในนิมิตมาจากไหนไม่รู้ ค่อยๆ ปาด‌หนัง ค่อยๆ แล่ออกทั้งแขน ทั้งขาออกหมด ‌เหลือแต่เนื้อห่อหุ้มอยู่ ปาดศีรษะ ลอกออก ‌เหลือแต่ตา ดึงไม่ออก จากนั้นหลังได้กลับเข้า‌ไปหุ้มร่างกายตามเดิม จิตพับกลับเข้าไปสู่ภพ‌เก่าที่มาถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา เมื่อกำหนดถามว่า ธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็น‌ธรรมอะไร ก็มีคำตอบว่า เป็นผลมาจากการ‌ปฏิบัติ และตราบใดที่มีผู้ปฏิบัติตามคำสอนของ‌พระพุทธองค์ ตราบนั้นบุญกุศลมรรคผล ธรรม‌อันวิเศษยังมีอยู่ตราบนั้น ไม่มีหมดไปจากโลก ‌ไม่มีสาบสูญไปจากผู้ปฏิบัติ

จากนั้นเมื่อน้อมลงสู่ไตรลักษณ์ เพ่งอยู่‌อย่างนั้น แบบ“ไม่กลัวตาย ใจกล้าแข็ง อาจ‌หาญ ชาญชัย กำหนดปล่อยวางเสมอ อุปาทาน ‌ความยึด น้อมลงสู่ไตรลักษณ์” พอหนังแตก กระดูกโผล่ขึ้นมา อนิจจาทุกขตา อนัตตา อนิจจตา ความไม่เที่ยง เป็น‌ทุกข์ ความแปรปรวน การไม่ถือตัวตนเราเขา ‌ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่เที่ยงแท้คลายกำหนัด ‌ไม่ยึดไม่ถือต่อไป

“เมื่อไม่ยึดไม่ถือต่อไปแล้ว ก็เร่งความเพียร‌เผากิเลส สิ่งเป็นเหตุให้เกิดภพชาติสังขารซ้ำๆ ‌ซากๆ ให้กิเลสนั้นเร่าร้อนกระวนกระวาย ผล‌สุดท้ายกิเลสนั้นก็ทนไม่ไหว ก็คงจะออกไปได้ ‌ถ้าไม่ขาดจากใจไปอย่าง สมุจเฉทปหาน ก็จะ‌ออกจากใจไปอย่างที่เรียกว่า ตทังคปหาน ‌ประหารอยู่ด้วยความเพียร เดิน ยืน นั่ง หรือ‌วิกขัมภนปหาน ประหารอยู่ด้วยสติปัญญาข่มขู่‌ฝึกสอนจิตให้เห็นชอบทุกอย่าง

น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ กิเลสนั้นก็พลอยที่จะ‌อ่อนกำลัง จะหมดสิ้นไปแล้ว กายกับจิตกับสติ‌นั้นจะรวมเข้าไปเป็นมรรคสามัคคีอารมณ์เดียว ‌เห็นจริงแจ้งชัดทุกอย่างนั้นแหละ โดยไม่ต้อง‌สงสัย จากนั้นจิตก็จะสงบ ลงขั้นไหนก็ไม่ทราบ ‌สงบลงไปนั้น แสงสว่างเกิดขึ้น ปีติก็เกิดขึ้น ก็‌เป็นกำลังของจิตนั่นแหละ จิตนั้นได้ดื่มรสของ‌ความสงบและเห็นธรรมเกิดขึ้น จิตนั้นก็สิ้น‌สงสัยในไตรวัฏโลกธาตุ ไม่มีอะไรเป็นเขา เป็น‌เรา หมดเสียสิ้น”

หลวงปู่จันทา หยุดวัฏฏะสงสารในชาตินี้‌แล้วด้วยวัย ๙๐ ปี ๑๑ วัน

Product tags
  • พุธโธ ธัมโม สังโฆ (1)
  • ,
  • ขณิกสมาธิ (1)
  • ,
  • อุปจารสมาธิ (1)
Information
  • สวนพุทธธรรม
  • ติดต่อเรา
Customer service
    Selected offers
      My account
          Copyright © 2023 สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม. All rights reserved.