สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • Log in
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Close
Menu
Personal menu
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Search
  • Home /
  • ครูบาอาจารย์ /
  • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

Picture of พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

“ความกลัวมันไม่ตาย ผู้ตายมันไม่กลัว” อะไรตาย? ที่เราสมมติมั่นหมายก็คือการหมดลมหายใจ ธาตุขันธ์อันนี้แหละถือว่ามันตาย ตายแล้วมันจะไปทิ้งไปป่าช้า ไปฝัง ไปเผา มันไม่กลัวอะไร ทิ้งลงน้ำ โยนใส่ไฟ ไม่มีวิ่งหนี นี่คือ “ผู้ตาย” มันไม่กลัวอะไร

แต่ “ผู้กลัว” มันไม่ตาย ถ้ามันตายมันไม่มีโอกาสที่จะไปเกิดอีก จะเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเทพบุตรเทพธิดา อินทร์พรหม หรือนิพพาน เป็นไปไม่ได้ถ้ามันตาย นี่มันไม่ตาย “ผู้กลัว”

แต่ผู้ตายมันไม่กลัว เราไม่ได้พิจารณาแน่นอนก็เลยกลัวกัน ที่ไหนมีป่าช้าของจิต? ที่ฝังที่เผาของจิตไม่เคยมี ถ้าหากมันตายไปตามธาตุตามขันธ์ มันไม่มีเกิดอีก มันจะมีเชื้อของสัตว์ของมนุษย์มาจากที่ไหน

“ความเกิด” ก็คือ เรื่องของจิตที่ยังมีกรรม มีกิเลส มีตัณหา มีอุปาทาน ยังไม่ได้ชำระสะสางให้สะอาด ให้หมดจด เหมือนกันกับพืชที่เรายังไม่ได้ทำให้สุก ไม่ได้เผา ไม่ได้ต้ม ไม่ได้นึ่ง เมื่อเราเอาไปหว่านลงสถานที่ใด มันก็งอกขึ้น เกิดขึ้น ตกลงใส่ในที่สูง ก็งอกขึ้นในที่สูง ตกลงสู่ในที่ต่ำ ก็งอกขึ้นในที่ต่ำ พืชที่มียางเป็นอย่างนั้น

ฉันใด จิตใจของพวกเราท่านมันไม่ตายมันจึงมีการเกิดอีก เกิดในที่ต่ำๆ สูงๆ ตามผลของกรรมที่เราทำเอาไว้ มันไม่เคยตายมาแต่ไหนแต่ไร

เมื่อมันบริสุทธิ์หมดจากยางของมัน มันก็ไม่ตายอีก แต่มัน “ไม่เกิด” มันไม่ตาย

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต และเป็นพระศิษย์อาวุโสองค์แรกขององค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ที่ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงธุดงควัตร และทรงข้อวัตรปฏิบัติ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์งดงาม

ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง แม้ท่านมีนิสัยชอบตลก ชอบเล่น ชอบหยอกล้อ จนไม่น่าเชื่อ ว่าท่านบวชแล้วจะครองสมณเพศได้ แต่ท่านก็ครองได้จนตลอดอายุขัย ทั้งนี้เพราะท่านมีความ เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด ท่านจึงมีความเด่นเป็นเลิศทั้งด้าน ข้อวัตรปฏิบัติและด้านความเพียร ท่านมีนิสัยชอบธุดงค์บำเพ็ญภาวนาตามป่าเขาเป็นชีวิตจิตใจ อันเป็นงานภายในและที่สำคัญถือเป็นงานของพระสมบูรณ์แบบตามพระพุทธประสงค์ ท่านไม่ชอบ งานก่อสร้างทุกชนิด อันเป็นงานภายนอกและถือเป็นข้าศึกต่อการภาวนา จนองค์หลวงตา เอ่ยชมว่า “ท่านสิงห์ทองเรื่องความเพียรนี้เก่ง ไม่ชอบทำงานทำการอะไร หมุนแต่ความเพียร อันนี้เราชอบ เข้ากันได้สนิทเลย”

ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ท่านได้บรรลุอริยธรรมขั้นสูงสุดเป็นพระอรหันต์ ประเภท “สุกขวิปัสสโก” เพราะเหตุปัจจัยอันสมบูรณ์ถึงพร้อม ๓ ประการ คือ มีบุญบารมีอันเปี่ยมล้น ๑ มีพ่อแม่ครูอาจารย์ชั้นเลิศอันเอกอุ ๑ และมีความเพียรเป็นเลิศ ๑ อันเป็นการตอกย้ำพุทธพจน์ บทที่ว่า “ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ตราบใด พระอรหันต์จะไม่สูญสิ้นจากโลก อยู่ตราบนั้น” โดยท่านได้รับการยกย่องเป็น “เพชรน้ำหนึ่ง” เป็นหนึ่งใน “โพธิ์ธรรม” สาย ท่านพระอาจารย์มั่น และเป็นมือขวาขององค์หลวงตา ซึ่งองค์หลวงตาเมตตาให้ความไว้วางใจ มากเป็นพิเศษ ถึงกับมอบศพท่านและมอบวงกรรมฐานให้ท่านพระอาจารย์สิงห์ทองเป็นผู้นำ

ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ทำหน้าที่ศากยบุตรพุทธชิโนรสได้อย่างสมเกียรติ สมศักดิ์ศรี พระธุดงคกรรมฐาน โดยบันลือสีหนาทแสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เทศนาโวหาร ธรรมของท่านเปล่งจากใจอันบริสุทธิ์ จึงจับใจไพเราะ การอุปมาก็ชัดเจนชวนฟัง และชวนให้คิด พิจารณา จนองค์หลวงตาเอ่ยชมว่า “ท่านสิงห์ทองเทศน์เก่ง แม้ไม่ได้พิสดารกว้างขวาง”

ด้วยอำนาจวาสนาทางธรรมของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ท่านจึงบำเพ็ญประโยชน์ แก่โลกมากมาย โดยท่านได้เทศนาอบรมสั่งสอนพระเณร และได้ธรรมปฏิสันถารสั่งสอนฆราวาส จำนวนมากที่มาปฏิบัติธรรมที่วัด ด้วยความเอาใจใส่ในทุกด้าน จนได้รับการสรรเสริญ แม้ท่าน มรณภาพคราวเครื่องบินตก ก็ยังเป็นประโยชน์และเป็นคติธรรมแก่โลกอย่างมาก เพราะท่านได้ แสดงสัจธรรมอันล้ำค่า เพื่อย้ำเตือนความจริงตามหลักพระพุทธศาสนาในเรื่อง “กรรม”

 

Product tags
  • เพชรน้ำหนึ่ง (3)
  • ,
  • โพธิ์ธรรม (1)
  • ,
  • สุกขวิปัสสโก (1)
Information
  • สวนพุทธธรรม
  • ติดต่อเรา
Customer service
    Selected offers
      My account
          Copyright © 2023 สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม. All rights reserved.