สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • Log in
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Close
Menu
Personal menu
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Search
  • Home /
  • ครูบาอาจารย์ /
  • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

Picture of หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

นี่เรามีอารมณ์อันใดเป็นที่อยู่ของจิตของเรา เราก็เพ่งดู มันหลงอะไรเล่า หรือไม่หลงก็ให้รู้จัก

ถ้าเราเห็นพิจารณาอยู่แล้ว โลกอันนี้ไม่เป็นสาระอะไรสักอย่าง จิตมันก็ไม่หลง ความทะเยอทะยานดิ้นรน ความกระวนกระวายแล้วความเดือดร้อน มันก็สงบเป็นศีล สงบเป็นสมาธิ เมื่อสมาธิสงบแล้ว มันก็ใส มันก็เลยรู้เท่าสังขาร รู้เท่าวิญญาณของเรา เป็นอย่างนั้น สังขารความปรุงแต่งดีชั่ว เราปรุงเอาเอง เราแต่งเอาเอง ปฏิสนธิวิญญาณมันไปก่อภพ ก่อชาติ ก่อกรรม ก่อเวร มันไปก่อที่ไหน เพ่งดูให้มันรู้มันเห็น

ดวงใจของเราอยู่นิ่งภายใน มันไม่ส่งไปข้างหน้า มาข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างบน ข้างล่าง ตั้งจำเพาะตรงกลาง ผู้รู้ นิ่งอยู่นั่นแหละ มันก็ไม่ตายแล้ว

นามธรรมคือผู้รู้นี้ เป็นของไม่แตกไม่ทำลาย และไม่เป็นของสูญหาย เป็นแต่รู้เท่านั้น เราก็เพ่งถึงความรู้นี้อยู่ ความรู้นี้ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่ดี ไม่ใช่ชั่ว ความพ้นทุกข์มันจะพ้นตรงนี้

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร หรือ หลวงปู่ฝั้น ท่านเป็นศาสนทายาทธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงธุดงควัตร และทรงข้อวัตรปฏิบัติได้อย่างงดงามเด่นชัดที่สุด จน องค์หลวงตาพระมหาบัวยกย่องท่านเป็น “เพชรน้ำหนึ่ง” เป็นพระอรหันต์ที่มีอำนาจจิตอัศจรรย์ มีพลังจิตแก่กล้าเป็นเลิศ เพ่งเครื่องบินตกได้ ท่านเด่นเรื่องเทวดาและเสือ มีกิริยามรรยาทสวยงาม นุ่มนวล ชุ่มเย็น เหมือนช้างเดินลงทุ่งนา ท่านเป็น “ปูชนียาจารย์ภิกขุ” เป็น “อาจารย์ที่หายาก” อีกองค์หนึ่งที่ทำให้ชาวไทยและต่างชาติรู้จัก “ชีวิตพระป่า” และพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

หลวงปู่ฝั้น ท่านเกิดในครอบครัวตระกูลขุนนางอันเป็นที่รักใคร่ของประชาชน ในวัยหนุ่ม ท่านเคยรับราชการ ชีวิตทางโลกกำลังเจริญก้าวหน้า แต่สาวกบารมีญาณที่บำเพ็ญมาเต็มเปี่ยมแล้ว ทำให้หันมาดำเนินชีวิตทางธรรม ท่านตั้งใจออกบวชแสวงหาโมกขธรรม เป็นมหานิกายพรรษาแรก ก็ได้ฟังธรรมและถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ท่านออกธุดงค์ตามป่าเขาอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิต เป็น “นักรบธรรมเดนตาย” โดยมี “พุทโธ” เป็นบทธรรมและธรรมาวุธประจำใจ มีนิมิตภาวนาชัด ราวกับตาเห็น มีอภิญญาแตกฉาน และมีปัญญาพิจารณาเฉียบคมจนหลวงปู่มั่นเอ่ยชม ต่อมาท่าน ได้ญัตติเป็นธรรมยุตและเป็นกำลังสำคัญของกองทัพธรรมฯ ที่สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ อย่างใหญ่หลวง โดยออกธุดงค์เผยแผ่ธรรมปฏิบัติตามแนวปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน ทั้งเทศนา สั่งสอนประชาชนให้เลิกนับถือผี หันมานับถือพระรัตนตรัยและปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง

หลวงปู่ฝั้น กว่าจะบรรลุธรรม ท่านต้องประสบอุปสรรคมากมาย แต่ท่านไม่เคยอ่อนแอ หรือท้อแท้ เมื่อเป็นพระหนุ่มก็มีโรคประจำตัวและเป็นไข้ป่ามาลาเรีย ท่านก็ใช้พลังจิตอันแก่กล้า และธรรมโอสถรักษาโรคทุกครั้งไป ท่านเคยสละชีวิตนั่งภาวนาตลอดรุ่ง จนหายขาดจากโรคภัย ไข้เจ็บ เมื่อท่านเป็นเสาหลักวงกรรมฐาน ท่านได้ตรากตรำทำงานอย่างหนัก ทั้งต้อนรับปฏิสันถารตาม หลักคารวะ ๖ ทั้งเทศน์อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท โดยเน้น “พุทโธ พุทโธผ่องใส พุทโธสว่างไสว” จนเป็นที่เลื่องลือกันมาก ทั้งเป็นผู้นำเสียสละ เป็นพระยอดนักพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ จนแทบ ไม่มีเวลาพักผ่อนหลับนอน ท่านก็ไม่เคยละทิ้งการภาวนา แม้ท่านบรรลุอรหัตตผลเมื่อปัจฉิมวัย แต่ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านกลับโด่งดังทั้งในและต่างประเทศ ยากที่จะหาองค์ใดเสมอเหมือน

ท่านได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) และในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตลอดพุทธบริษัทมากมาย ด้วยท่านทรงปาฏิหาริย์ ๓ เทศนาอนุสาสนีปาฏิหาริย์ธรรม จึงสมบูรณ์ นิ่มนวลมาก แต่ทรงพลัง ท่านได้ทำหน้าที่ศากยบุตรพุทธชิโนรสประกาศบทธรรม พุทฺโธ สุสุทฺโธ กรุณามหณฺณโว พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ได้อย่างกึกก้องกัมปนาทที่สุด เพราะ กรุณามหณฺณโว ท่านยึดถือเป็นธรรมประจำใจและเป็นสาเหตุสำคัญของการอาพาธหนักจน ถึงแก่มรณภาพ หลวงปู่ฝั้นท่านด่วนจากไปเพียงร่างกาย แต่คุณงามความดีอันยิ่งใหญ่อเนกอนันต์ ของท่านจะถูกจดจารึกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและพระพุทธศาสนาตลอดอนันตกาล

Product tags
  • ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (1)
  • ,
  • หลวงปู่ฝั้น (1)
  • ,
  • อาจารย์ที่หายาก (1)
  • ,
  • เพชรน้ำหนึ่ง (3)
  • ,
  • อัมพร อมฺพโร (1)
Information
  • สวนพุทธธรรม
  • ติดต่อเรา
Customer service
    Selected offers
      My account
          Copyright © 2023 สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม. All rights reserved.