สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • Log in
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Close
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับ
    • Back
    • สวนพุทธธรรม
    • หลวงปู่เปลื้อง ปญฺญวนฺโต
    • หลวงปู่อูเตชนียะ
  • ครูบาอาจารย์
    • Back
    • พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    • พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    • พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    • ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
    • หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    • หลวงปู่ขาว อนาลโย
    • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    • หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    • หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    • หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    • หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    • หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    • หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    • หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    • พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    • หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    • หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    • พระอาจารย์วัน อุตฺตโม
    • หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    • พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    • พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    • หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    • หลวงปู่จันทา ถาวโร
    • หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร
    • หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ
    • หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    • หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
  • หลักการปฏิบัติ
    • Back
    • คติธรรมเตือนตน
    • ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของกาย
    • แยกกายแยกจิต
    • เดินจงกรม
    • มรรควิถี
    • อริยสัจจ์แห่งจิต
    • ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
  • สื่อธรรมะ
    • Back
    • ห้องสมุดธรรมะ
  • ติดต่อเรา
Close
Menu
Personal menu
สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม
Search
  • Home /
  • ครูบาอาจารย์ /
  • หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

Picture of หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

คำว่าใจก็คือใจบัญญัติตนเองว่าใจใจ ส่วนตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้ไม่ได้บัญญัติตัวเองได้เลย เมื่อใจบัญญัติตัวเองว่าใจใจตามสมมติและปรมัตถ์แล้ว เมื่อใจไม่รู้เท่าใจตอนใดๆ แล้ว ใจก็ไม่รู้เท่าธรรมตอนนั้นๆ ก็ไม่สามารถจะปฏิบัติใจและธรรมตอนนั้นๆ ได้ ก็ต้องสงสัยใจและธรรมตอนนั้น นั้นๆ นี้ๆ ด้วย เหตุดีผลดี เหตุชั่วผลชั่ว ตอนไหนๆ ก็ต้องเป็นรางวัลของใจทั้งนั้น ใจจะปฏิเสธเหตุและผลไปทับถมทิ้งให้กายและวาจาย่อมไม่เป็นธรรมตามความจริง คล้ายๆ กับทิ้งเหตุทิ้งผลไปให้แดดๆ ลมๆ ภายนอกที่เขาไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรเลย

ความบิดพริ้วไม่รับสารภาพยอมจำนนตัวเอง เป็นเหตุให้สร้างปัญหาผูกมัดตัวเข้า กลายเป็นทาสแห่งปัญหาของเจ้าตัวทวีขึ้น เป็นสงครามดับเงาเจ้าตัวเองไม่จบสิ้น เป็นสังสารวัฏฏ์มัดตัวให้วนเวียนไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย เพราะใจไม่เพ่งดูตนอันเป็นต้นเหตุ กลายเป็นของไม่มีของเขตคือทะเลหลง เพราะทะนงตัวถือว่าตัวเป็นใจๆ แท้ๆ ตนเอาโขนสวมหัวตนไว้บัญญัติว่าใจๆ ทำให้อุปาทานแก่กล้าอาสายืนยัน สิ่งอื่นๆ เป็นธรรมชาติอยู่ตามปกติ ไม่มีอาการและพิษสงอันใด ใจเป็นผู้สร้างพิษสร้างภัยขึ้นให้เผาตัวเอง ใจจะดับพิษดับสงก็ต้องตกลงใจอยู่ที่ตัวเอง เพราะกายวาจาสร้างฟืนสร้างไฟอะไรไม่ได้

เพราะเขาไม่ได้ใส่ชื่อลือนามเขาเองว่าเขาเป็นกายเป็นวาจา ใจฟิตตัวเองขึ้นว่าใจๆ แล้วเป็นโขนสวมตนแบบอัตโนมัติ ไปบัญญัติว่าเขาเป็นกายเป็นวาจา เขาก็ไม่ตอบว่าขอรับขอรับ ขอบพระคุณล้นเกล้าแล้ว เขาก็ไม่ปัดแบบหน้านิ่วคิ้วขมวดอีกเลย และเขาก็ไม่วางเฉยด้วยประการใดๆ ทั้งปวงอีกด้วย มิหนำซ้ำใจไปยืนยันว่ากายวาจาเป็นสมบัติพัสถานของเจ้าตัวอีก กายวาจาก็ไม่รับไม่ปัดไม่อุเบกขาอีก ตกลงใจก็เสพวิชาซ่อมบ้าอยู่แต่เจ้าตัวผู้เดียว ว่าแล้วก็น่าหัวเราะใจมาก ให้พระสติพระปัญญาเป็นผู้หัวเราะ

ฉะนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายจนไม่สามารถนับไหว จึงรู้เหนือใจไป เหนือรู้ไปไกลไม่มีตัวเป็นพิษ เราเขาดับสนิท ไม่ติดอยู่ในใจและผู้รู้ใดๆ ทุกๆ กาลอุปาทานก็แตกกระเจิง แตกเปิดเปิงไปไม่ต้องบัญญัติปฏิจจสมุปบาทก็ได้ ไม่ต้องอ้างคัมภีร์อื่นก็ได้ อ้างคำภีร์ใจก็พอฯ

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

ของหลวงปู่หล้า เขมปฺตโต เป็นชีวิตแห่งสมณะผู้ละวางลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มุ่งสู่ความหลุดพ้นอย่างจริงจังมั่นคง ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ ที่บ้านกุดสระ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายคูน เสวตร์วงศ์ มารดาชื่อ นางแพง เสวตร์วงศ์ เป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง ๘ คน อาชีพของครอบครัว คือ ทำนา ท่านศึกษาในโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๒ ก็ต้องออกมา ในวัยเยาว์ท่านได้มีโอกาสรับใช้พระธุดงค์ที่จาริกมา ในละแวกบ้านซึ่งมีส่วนช่วย หล่อหลอมจิตใจให้ใฝ่ในทางธรรม

อายุ ๑๘ บวชเป็นเณร เมื่ออายุครบเกณฑ์ก็ได้บวชเป็นพระตามประเพณี จากนั้นก็ลาสิกขา มาครองเรือนได้ประสพความเป็นอนิจจัง ทุกขัง แห่งสังขาร และการพลัดพราก ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๖ บวชเป็นพระมหานิกายที่วัดบ้านยาง มีพระครูคูณเป็นอุปัชฌาย์ พรรษาแรกก็สอบนักธรรมโทได้ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ญัตติเข้าในคณะธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ครั้งเป็นพระเทพกวีเป็นอุปัชฌาย์ และให้ท่านไปพำนักฝึกการปฏิบัติกับหลวงปู่บุญมี ชลิตฺโต ที่วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เคยอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปพำนักครั้งที่ท่านกลับจากเชียงใหม่ และหลวงปู่บุญมี เคยได้รับการศึกษาอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น และดำเนินปฏิปทาตามพระบุพพาจารย์

ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้ว ได้กราบลาหลวงปู่บุญมี วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำเค็ม เพื่อไปนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งมาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร พระหล้า เขมปตฺโต ออกเดินทางด้วยเท้าค่ำไหนก็ปักกรดจำวัดได้แวะพักบำเพ็ญความเพียรที่ถ้ำพระเวสก์อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ออกเดินทางจุดหมายก็คือวัดป่าบ้านหนองผือนาในด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในกิตติศัพท์แห่งปฏิปทาบารมีธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ทำให้พระหล้า เขมปตฺโต อุสาหะวิริยะดั้นด้นมาจนถึงสำนักป่าแห่งนี้ ความสงบร่มรื่นเป็นสัปปายะสถานแห่งผู้บำเพ็ญสมณะธรรม โอกาสทองแห่งชีวิตก็มาถึงพระหล้า เขมปตฺโต มีโอกาสเข้าไปกราบแทบเท้าท่านพระอาจารย์ใหญ่ สัจจะวาจาแห่งผู้กล้าเอ่ย “ขอมอบกายถวายชีวิตต่อพระอาจารย์ ผูกขาดทุกลมปราณ” ท่ามกลางคณะสงฆ์คณะศิษย์ที่อยู่ร่วมสำนัก อาทิ ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์ทองคำ จารุวณฺโน หลวงปู่มั่นท่านเมตตาปฏิสันฐานบอกให้พระเณรนำบริขารไปที่กุฏิว่าง เมื่อล่วง ถึง ๕ วัน ก็เข้าไปกราบเท้าขอนิสัยกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต องค์ท่านก็ได้กรุณารับ

การพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน พระหล้า เขมปัตโต ได้รับเมตตาจากท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อุบายธรรมอันเป็นสิ่งที่ท่านจดจำสำนึกตลอดมา ในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านได้จำพรรษาเฝ้าฝึกศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่นและถวายการปฏิบัติครูอาจารย์ด้วยความเคารพ ณ วัดป่าบ้านหนองผือนาใน ซึ่งเป็นขุมคลังแห่งพุทธิปัญญา วิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคสมัย และยังได้รับเมตตาธรรมจากพระเถราจารย์ ตลอดจนสหธรรมิกร่วมสำนัก

หลังออกพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้ติดตามท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ออกวิเวกไปตามป่าเขา ต่อมาได้มีโอกาสพบท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่ถ้ำบ้านไผ่ และท่านก็เมตตาช่วยเหลืออนุโมทนาในกิจธุดงค์ด้วยดี เมื่อได้เวลาอันควรพระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ก็เดินทางกลับมากราบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน และมีโอกาส ถวายการปฏิบัติรับใช้พ่อแม่ครูอาจารย์ ด้วยความเคารพศรัทธา

กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้บังเกิดเหตุที่นำความเศร้าสลดมาสู่พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต อย่างใหญ่หลวงคือพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้เปรียบประดุจร่มโพธิ์แก้วของท่าน ได้ละสังขารจากโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ คงเหลือไว้ซึ่งคุณูปการอเนกอนันต์แห่งธรรมและข้อวัตรปฏิบัติอันยอดเยี่ยม พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ได้รับเป็นภาระธุระในกิจน้อยใหญ่ โดยไม่เกี่ยงเพื่อบำเพ็ญกุศลถวายท่านพระอาจารย์ใหญ่ ที่ตนมอบกายถวายชีวิตด้วยเศียรเกล้า

เมื่อถวายเพลิงสรีระหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตแล้ว ท่านจึงติดตามหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ออกวิเวก และมีโอกาส ติดตามหลวงปู่เทสก์ลงไปทางใต้แถบจังหวัด ภูเก็ต-พังงา และจำพรรษาที่ ๖ ที่ โคกกลอย พระอาจารย์หล้าธุดงค์ไปในเกาะภูเก็ต พังงา และจังหวัดตรัง ช่วงระยะหนึ่งจึงกลับมากรุงเทพฯ พักที่วัดบรมนิวาส ๕-๖ วันแล้วกลับไปอีสาน จุดหมายคือวัดบ้านห้วยทราย (หรือวัดวิเวกวัฒนาราม) อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านพำนักอยู่ที่นี่ พระอาจารย์หล้า เขมปตฺโต ได้พำนักร่วมกับท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ๓ พรรษา

ปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ชาวบ้านบ้านแวงหนองสูงใต้ มากราบนิมนต์ท่านไปพำนักที่ภูจ้อก้อ หลวงปู่หล้า เขมปตฺโตจึงได้มาพำนักที่ ภูจ้อก้อ หรือวัดบรรพตคีรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดบรรพตคีรี (ภูจ้อก้อ) บ้านแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่บนภูเขาทิวทัศน์งดงามร่มรื่นมีก้อนหินน้อยใหญ่ เรียงรายงดงาม ศาสนสถานแห่งนี้ หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ท่านเป็นผู้นำศรัทธาในการสร้างเพื่อถวายไว้เป็นศาสนสมบัติ

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ท่านเป็นพระธุดงคกรรมฐานที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ธรรมเทศนาของท่านเป็นธรรมะพระป่าที่เข้มข้นตรงไปตรงมา

หลวงปู่หล้า เขมปฺตโต ในปัจฉิมวัย ท่านอาพาธด้วยโรคาพยาธิ และในที่สุดท่านมรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๙ ก่อนมรณภาพ ท่านขอให้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพียง ๓ วัน จากนั้นให้ฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย ชีวิตสมณะของหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต เป็นชีวิตพระป่า พระธุดงคกรรมฐานที่องอาจ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว แต่นอบน้อมต่อครูอาจารย์ผู้มีพระคุณเป็นที่สุด

Product tags
  • วัดบรรพตคีรี (1)
  • ,
  • วัดภูจ้อก้อ (1)
Information
  • สวนพุทธธรรม
  • ติดต่อเรา
Customer service
    Selected offers
      My account
          Copyright © 2023 สวนพุทธธรรม ปัญญจิตตธัมโม. All rights reserved.